ป่าไม้ของประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ป่าไม้ไม่ผลัดใบ และป่าไม้ผลัดใบ
สำหรับป่าไม้ไม่ผลัดใบนั้นมีประมาณ 30 % ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ แบ่งออกได้อีก 4 ชนิด ดังนี้
ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ คือ ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) และ ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าสน (Coniferous Forest) ป่าสนมีกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ตามภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นอยู่ปนกับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ป่าพรุ (Swamp Forest) คือป่าที่อยู่ตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 ม.ม ต่อปี แบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Fresh Water Swamp Forest) และ ป่าชายเลน (Mangrove Swamp Forest)
ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทรายและโขดหินพันธุ์ไม้จะต่างจากที่ที่น้ำท่วมถึง ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็มีสนทะเล พืชชั้นล่างก็จะมีพวกตีนนก และพันธุ์ไม้เลื้อยอื่นๆ อีกบางชนิด ถ้าเป็นกรวดหรือหิน พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระทิง หูกวาง เป็นต้น
สำหรับป่าไม้ผลัดใบ (Deciduous Forest) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มักจะมีไม้สักขึ้นอยู่ปะปนทั่วไป ลักษณะของป่าเบญจพรรณเป็น ป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมาก พื้นที่ป่าไม่รกทึบมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบและมีไฟป่าไหม้อยู่ทั้งปี
ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ป่าชนิดนี้ปรากฏอยู่มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนับว่ามีมากที่สุด คือประมาณ 70-80% ของป่าชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในภาคนี้ทั้งหมด ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง ดินมักเป็นทรายและลูกรัง ซึ่งจะมีสีค่อนข้างแดง ในบางแห่งจึงเรียกว่าป่าแดง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีป่าขึ้นตามเนินที่เรียกว่าโคก จึงเรียกว่าป่าโคก ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้น อยู่กระจัดกระจาย พื้นป่าไม้รกทึบ มีหญ้าชนิดต่างๆ และไม้ไผ่ขึ้นอยู่ทั่วไป
ป่าหญ้า (Savanna Forest) เป็นป่าที่เกิดหลังจากที่ป่าชนิดอื่นๆ ถูกทำลายไปหมด ดินเสื่อมโทรม ต้นไม้ไม่อาจเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าจึงเข้ามาแทนที่พบได้ทุกภาคในประเทศ หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคาแฝกหอม เป็นต้น และอาจมีต้นไม้ขึ้นบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า ประดู่ซึ่งเป็นพวกทนทานไฟป่าได้ดี
สำหรับป่าไม้ไม่ผลัดใบนั้นมีประมาณ 30 % ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ แบ่งออกได้อีก 4 ชนิด ดังนี้
ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ คือ ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) และ ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าสน (Coniferous Forest) ป่าสนมีกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ตามภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นอยู่ปนกับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง
ป่าพรุ (Swamp Forest) คือป่าที่อยู่ตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 ม.ม ต่อปี แบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด คือ ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Fresh Water Swamp Forest) และ ป่าชายเลน (Mangrove Swamp Forest)
ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทรายและโขดหินพันธุ์ไม้จะต่างจากที่ที่น้ำท่วมถึง ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็มีสนทะเล พืชชั้นล่างก็จะมีพวกตีนนก และพันธุ์ไม้เลื้อยอื่นๆ อีกบางชนิด ถ้าเป็นกรวดหรือหิน พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระทิง หูกวาง เป็นต้น
สำหรับป่าไม้ผลัดใบ (Deciduous Forest) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มักจะมีไม้สักขึ้นอยู่ปะปนทั่วไป ลักษณะของป่าเบญจพรรณเป็น ป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมาก พื้นที่ป่าไม่รกทึบมีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบและมีไฟป่าไหม้อยู่ทั้งปี
ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) ป่าชนิดนี้ปรากฏอยู่มากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนับว่ามีมากที่สุด คือประมาณ 70-80% ของป่าชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ ในภาคนี้ทั้งหมด ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง ดินมักเป็นทรายและลูกรัง ซึ่งจะมีสีค่อนข้างแดง ในบางแห่งจึงเรียกว่าป่าแดง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีป่าขึ้นตามเนินที่เรียกว่าโคก จึงเรียกว่าป่าโคก ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้น อยู่กระจัดกระจาย พื้นป่าไม้รกทึบ มีหญ้าชนิดต่างๆ และไม้ไผ่ขึ้นอยู่ทั่วไป
ป่าหญ้า (Savanna Forest) เป็นป่าที่เกิดหลังจากที่ป่าชนิดอื่นๆ ถูกทำลายไปหมด ดินเสื่อมโทรม ต้นไม้ไม่อาจเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าจึงเข้ามาแทนที่พบได้ทุกภาคในประเทศ หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าคาแฝกหอม เป็นต้น และอาจมีต้นไม้ขึ้นบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า ประดู่ซึ่งเป็นพวกทนทานไฟป่าได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น